หัตถศิลป์ถิ่นไทลื้อ น้ำถุ้งบ้านธิหละปูน
เดิมชาวลื้อ หรือ ไทลื้อ มีถิ่นที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า " ลือแจง" ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรรษที่ 12 จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ (พญาเจิ๋ง) ได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ในสิบสอบปันนาปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ ( เซอลี่ ) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่ง นาน 790 ปี ต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว ( ชื้อพันธุ์ข้าว ) ต่อมาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมือง จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบันเมืองสิบสองปันนาได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีต ดังนี้ ( ที่มาของคำว่า สิบสองปันนา หรือสิบสองเจ้าไต )
ชาวไทลื้ออาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่างๆ ดังนี้ ภาษาไทลื้อ ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง ( เชียงรุ้ง ) เป็น 12 ปันนานั้น ยังมีเมืองน้อย อีก 32 หัวเมือง
ฝั่งตะวันตก : เชียงรุ่ง , เมืองฮำ , เมืองแช่ , เมืองลู , เมืองออง , เมืองลวง , เมืองฮุน , เมืองพาน , เมืองเชียงเจิง , เมืองฮาย , เมืองเชียงลอ , เมืองมาง
ฝั่งตะวันออก : เมืองลำ , เมืองบาง , เมืองฮิง , เมืองปาง , เมืองลา , เมืองวัง , เมืองพง , เมือง
หย่วน , เมืองบาง และเมืองเชียงทอง ( หลวงพระบาง )
การขยายตัวของชาวไทลื้อ สมัยรัชกาลที่ 2 - 4 เจ้าอินเมืองได้เข้าตีเมืองแถน เชียงตุง เชียงแสน และล้านช้าง กอบกู้บ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น พร้อมทั้งตั้งหัวเมืองไทลื้อเป็นสิบสองเขต เรียกว่าสิบสองปันนา และในยุคนี้ได้มีการอพยพชาวไทลื้อบางส่วนเพื่อไปตั้งบ้านเรือนปกครองหัว เมืองประเทศราชเหล่านั้น จึงทำให้เกิดการกระจายตัวของชาวไทลื้อ ในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง ( รัฐฉานปัจจุบัน ) อันประกอบด้วยเมืองยู้ เมืองยอง เมือหลวย เมืองเชียงแขง เมืองเชียงลาบ เมืองเลน เมืองพะยาก เมืองไฮ เมืองโก และเมืองเชียงทอง ( ล้านช้าง ) เมืองแถน ( เดียนเบียนฟู )
**ชาวไทลื้อบ้านธิ ลำพูน .... ชาวไทลื้อบ้านธิเดิมทีอยู่ดินแดนสิบสองปันนาแต่ด้วยเหตุหลายปัจจัยทำให้ต้องย้ายถิ่นฐานมาที่จังหวัดลำพูน ชาวไทลื้อชอบอาศัยบริเวณริมน้ำเพื่อสะดวกในการทำมาหากิน และนับถือผี ประเพณีของชาวไทลื้อมีมากมาย เช่น กินหวานต๋านม่วน เลื้ยงผีขุนน้ำ เป็นต้น.ชาวไทลื้อจะรักพวกพ้อง และจะแต่งงานกันเองในเครือญาติ ผู้ที่มาสร้างถิ่นฐานในบ้านธิคนแรกคือพ่อหนาญปัญโญกับแม่อุ๊ยขา บ้านแพะเป็นบ้านแรกที่ไทลื้อบ้านธิมาอาศัยและขยายไปเรื่อยๆจนมีลูกหลานมากมายและได้ชยายเป็น10หมู่บ้าน
ในท้องถิ่นแต่ละแห่งย่อมมีการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้นๆ เรื่องที่เล่าอาจเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นจริง แล้วเล่าต่อ ๆ กันมา และอาจแพร่ไปยังท้องถิ่นอื่นด้วย
ตำนาน คือ เรื่องราวที่เล่าเกี่ยวกับประเพณีเก่าแก่ บางเรื่องเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และอ้างถึงตัวบุคคลหรือสถานที่ที่มี อยู่จริง ในท้องถิ่นหรือชุมชนหลายแห่งมีเรื่องของวีรบุรุษหรือคนที่ทำประโยชน์ให้กับ ชุมชนแห่งนั้น ผู้คนในชุมชนมีความรักและภาคภูมิในในตัวบุคคลเหล่านี้ จึงนำเรื่องราวของเขามาเล่า คนบางกลุ่มยังเชื่อว่าวีรบุรุษเหล่านี้ยังไม่ตาย แต่ซ่อนตัวอยู่ในที่เร้นลับและรอเวลาที่จะกลับมาช่วยเหลือพี่น้องของตนเอง
ตำนานมีเล่ากันอยู่ทั่วไป แต่ จุดประสงค์หลักในการเล่าต่างไปจากนิทาน คือตำนานเล่าเพื่อให้ผู้คนได้ทราบถึงความจริงบางอย่างที่สำคัญ อธิบายปรากฏการณ์พิเศษหรือเหตุการณ์บางอย่างที่ควรจดจำ เนื้อหาของตำนานจะสอดแทรกความเป็นจริง ทำให้เรื่องที่เล่าเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือ มีการอ้างอิงเวลา วัน เดือน ปี ฤดูกาลที่แน่นอน เพื่อให้ผู้ฟังเชื่อถือมากขึ้น
ตำนานบ้านธิ เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของอำเภอบ้านธิ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเริ่มต้นขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี เพราะมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ส่วนชาวไทลื้อนั้น ถือเป็นกลุ่มชนที่โดดเด่นในอำเภอบ้านธิ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเป็นมาที่น่าสนใจ
บ้านธิ
มีความเป็นมาที่เก่าแก่ ถือว่าเป็นแหล่งอารยธรรมหนึ่งของอาณาจักรหริภุญไชย เพราะมีหลักฐานทางโบราณวัตถุโบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงวิถีชีวิตที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน
หลักฐานที่ปรากฏ
วัดดอยเวียง สร้างในสมัยพระนางเจ้าจามเทวี เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๒๒๐ ในยุคของหริภุญไชย มีการค้นพบจารึกอักขระภาษาพื้นเมืองของพระสงฆ์ที่เป็นหลักฐานยืนยันในเรื่องนี้